ประวัติ ของจังหวัดนครนายก (เกร็ดความรู้)

คำขวัญประจำจังหวัด

"นครนายก เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ"

 

   นครนายกเป็นเมืองที่มีขนาดไม่ใหญ่ เงียบสงบ เหมาะกับการอยู่อาศัยและท่องเที่ยวพักผ่อน

เป็นเมืองในฝันใกล้กรุงซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม

รวมถึงมีกิจกรรมที่สามารถทำได้ทั้งครอบครัวถ้าจะบอกว่าเป็นเมืองแห่งความสุขก็ไม่ผิดนัก

 

    นครนายกเป็นจังหวัดในภาคกลาง สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดี มีหลักฐานแนวกำแพง เนินดิน และสันคู อยู่ที่ตำบลดงละครจังหวัดนครนายกเดิมชื่อบ้านนา ปรากฎหลักฐานในสมัยกรุงอยุธยาว่าเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันออก ในสมัยพระเจ้าอู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยาดินแดนของนครนายกเป็นป่ารกชัฏ ทำการเพาะปลูกไม่ค่อยได้ผล มีไข้ป่าชุกชุม ผู้คนจึงพากันอพยพไปอยู่ที่อื่นจนเมืองกลายเป็นเมืองร้างต่อมาพระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือดร้อนของชาวเมือง จึงโปรดให้ยกเลิกภาษีค่านา เพื่อจูงใจให้ชาวเมืองอยู่ที่เดิม ทำให้มีผู้คนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ และเรียกเมืองนี้กันติดปากว่าเมืองนา-ยกภายหลังกลายเป็นนครนายกจนทุกวันนี้ในปี

 

    พ.ศ.2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงจัดลักษณะการปกครองโดยแบ่งเป็นมณฑล นครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรี จนเมื่อ พ.ศ. 2445 ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมือง และให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นแทนและในช่วง พ.ศ. 2486-2489 นครนายกได้ถูกโอนไปรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีและสระบุรี หลังจากนั้นจึงแยกเป็นจังหวัดอิสระจังหวัดนครนายกมีเนื้อที่ประมาณ 2,122 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,326,250 ไร่ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบอยู่ในหุบเขาตอนเหนือ ทางตะวันออกเป็นเนินสูงและป่าเขาติดต่อกับเขาดงพญาเย็น ส่วนทางตอนกลางและตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม ภูเขาที่สำคัญ คือ เขาใหญ่ เขาเขียว เขาชะโงก และเขานางรอง เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและน้ำตกที่สวยงามหลายแห่งจังหวัดนครนายกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอองครักษ์ และอำเภอปากพลี

ขอบคุณข้อมูล:การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย


ตราประจำจังหวัด

รูปช้างชูรวงข้าว เบื้องหลังเป็นลอมฟาง 

เริ่มใช้ พ.ศ.2483 ใน พ.ศ.2545 ตราของจังหวัด ที่ประกาศอยู่ในราชกิจจานุเบกษา ได้เพิ่มแถบชื่อจังหวัดและลายขอบตรา

โดยตัดองค์ประกอบ ที่อยู่เบื้องหลังรูปช้างชูรวงข้าวออกทั้งหมด

 

ดอกไม้ประจำจังหวัด

 

ชื่อพันธุ์ไม้  สุพรรณิการ์  ชื่อสามัญ  Yellow Silk Cotton Tree, Yellow Cotton

ชื่อวิทยาศาสตร์  Cochlospermum religiosum Alston  ชื่ออื่น  ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)

 

 

 

Visitors: 527,817